Loading...

Menu

Menu

ที่ท่องเที่ยว

พระบรมธาตุดอยสุเทพ- เช่ารถเชียงใหม่

พระบรมธาตุดอยสุเทพ

พระบรมธาตุดอยสุเทพ เป็นปูชนียสถานที่สำคัญยิ่งของเมืองเชียงใหม่ ประดิษฐานอยู่บนดอยสุเทพ สูงจากระดับน้ำทะเล 1,000 เมตร พระบรมธาตุดอยสุเทพ ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกของตัวเมือง ห่างจากตัวเมืองเก่าประมาณ 10 กิโลเมตร สามารถมองเห็นจากตัวเมืองได้ชัดเจน ที่เที่ยวเชียงใหม่ ภายในยังได้ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุองค์ใหญ่ ที่พญากือนา กษัตริย์องค์ที่ 6 แห่งอาณาจักรล้านนา ราชวงศ์มังราย ได้ทรงเก็บไว้สักการบูชาส่วนพระองค์ถึง 13 ปี มาบรรจุไว้ที่นี่ให้ประชาชนได้เดินทางมาสักการะบูชาเพื่อความเป็นสิริมงคล

เวลาเปิด-ปิด 05.00-21.00

1. พระธาตุดอยสุเทพ องค์พระบรมสารีริกธาตุถูกบรรจุไว้ใต้ดินไม่ใช้ด้านบนอย่างที่เข้าใจกัน ด้วยธรรมเนียมการสร้างพระธาตุแต่ครั้งก่อนนิยมฝังพระบรมสารีริกธาตุไว้ใต้ดินเพื่อให้เป็นเสาหลักศูนย์กลางของเมืองเชียงใหม่ ราชธานีของอาณาจักรล้านนา

2. ห้ามสตรีเข้าใกล้องค์พระธาตุ เพราะคติทางพุทธศาสนาถือว่าสตรีผู้มีรอบเดือนนั้นเป็นสิ่งสกปรก คตินี้สืบมาตั้งแต่ครั้งที่พุทธศาสนาเข้ามาในดินแดนแถบบนี้เมื่อพันปีก่อน ด้วยลักษณะความเชื่อของพุทธศาสนาที่ค่อยข้างกีดกันผู้หญิงเข้าถึงศาสนา ปัจจุบันวัดทางภาคเหนือส่วนใหญ่เคร่งครัดกฎข้อนี้มาก

3. พระธาตุดอยสุเทพ ถือเป็นเขาพระสุเมรุของล้านนาแฝงความคิดเป็นฮินดูอยู่ในพุทธศาสนา ทั้งยังเป็นหมุดหมายไว้สำหรับนักเดินทางสังเกตได้ว่าถึงเมืองเชียงใหม่แล้ว

4. เป็นหนึ่งในเจดีย์ประจำปีเกิดของคนเกิดปีมะแมและเป็นดั่งชัยชนะทางวัฒนธรรมของอาณาจักรล้านนาต่อกรุงรัตนโกสินทร์ในเรื่องของการเผยแพร่คติการนับถือเจดีย์ประจำปีเกิด อย่างน้อยที่สุดในสมัยรัชกาลที่ 5 ที่คตินี้เริ่มแผ่เข้ามา

5. ปัจจุบันบริเวณพระธาตุดอยสุเทพมีการเวียนเทียนกันตลอด รู้หรือไม่ว่าเมื่อก่อนชาวเชียงใหม่นิยมขึ้นมาเวียนเทียนพระธาตุดอยสุเทพทุกวันพระและวันสำคัญทางพุทธศาสนา

6. ในอดีตทุกวันวิสาขาบูชาของทุกปี ชาวเชียงใหม่จะเดินข้ามคืนขึ้นดอยสุเทพไปตักบาตร ฟังธรรม บำเพ็ญเพียร บางคนอาจใช้ถนนศรีวิชัยและมีอีกกลุ่มหนึ่งโดยเฉพาะผู้เฒ่าผู้แก่นิยมใช้ถนนอีกเส้นหนึ่งซึ่งเป็นเส้นทางเก่ากว่าทางใต้ของของขุนเขา โดยนัดพบกันที่วัดสวนดอกและค่อยเดินขบวนขึ้นเดินผ่านบ้านฝายหินขึ้นไป เริ่มเดินตั้งแต่คืนก่อนวันวิสาขบูชาเพื่อให้ทันตักบาตรตอนเช้า

7.บันไดนาคทางขึ้นพระธาตุเดิมเป็นนาคเศียรเดียวและมีบันได 173 ขั้น ก่อนได้รับการบูรณะเป็นนาค 7 เคียรและเพิ่มขึ้นบันไดเป็น 185 ขั้นจนทุกวันนี้

8. ครูบาศรีวิชัยผู้ปฎิสังขรณ์พระธาตุดอยสุเทพเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณของชาวล้านนาต่อสู้การปฎิรูปประเทศของรัชกาลที่ 5 แนวคิดความคิดสมัยใหม่แบบตะวันตกจากราชสำนักในกรุงเทพฯ ถูกมองว่าเป็นการครอบงำและทำลายจารีตของล้านนา ครูบาศรีวิชัยจึงต้องปฎิสังขรณ์วัดหลายแห่งในภาคเหนือเพื่อรักษารากของล้านนาไว้ แม้ท่านถูกกล่าวหา (อธิกรณ์)ในทางเสื่อมเสียหลายครั้งหวังทำลายความศรัทธาของชาวล้านนาที่มีต่อท่านจนท่านมรณภาพไป

9. พระธาตุดอยสุเทพผ่านแผ่นดินไหวมา 5 ครั้ง (นับครั้ง5 พ.ค. 2557) จากบันทึกที่สืบได้ครั้งแรกหลังจากที่พระธาตุดอยสุเทพสร้างเสร็จไม่นานคือในปีพ.ศ. 2088 ในครั้งนั้นปรากฎว่าเจดีย์บริเวณพื้นราบพังทลายหมด ทว่าเจดีย์พระธาตุดอยสุเทพไม่พบบันทึกว่าเสียหาย ครั้งที่2 พ.ศ. 2344 ลูกแก้วบนฉัตรพระธาตุตกลงมา ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2532 ยอดฉัตรช่อหางหงส์หัก ครั้งที่ 4 พ.ศ. 2538 ลูกแก้วบนฉัตรตกลงมาลงพื้นอีกครั้ง และครั้งล่าสุด 5 พ.ค. 2557 ยอดฉัตรเอียง

10. ใครที่เรียนหรือเคยเรียนมหาวิทยาลัยเชียงใหม่คงต้องเคยผ่านการรับน้อง "ประเพณีลูกช้างขึ้นดอยนำน้องใหม่ไปนมัสการพระบรมธาตุดอยสุเทพ" กันบ้างแล้ว โดยเจตารมณ์ของประเพณีนี้เพื่อระลึกถึงการจาริกแสวงบุญตามรอยของครูบาศรีวิชัยที่ได้นำเหล่าพุทธศาสนิกชนล้านนาแผ้วถางทางเพื่อทำทางขี้นพระธาตุดอยสุเทพ ดังนั้นการตามรอยเส้นทางนี้จึงเป็นเส้นทางมหามงคลที่นักศึกษาทุกคณะได้เจริญตามรอยในทุกๆ ปี