ระบบ AI กับวงการยานยต์ อย่างที่เกริ่นเอาไว้ตอนต้นว่า พูดถึง AI ในวงการยานยนต์ ก็จะต้องมีความเกี่ยวข้องกับระบบไร้คนขับอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ระบบปัญญาประดิษฐเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของระบบคนขับ ในฐานะสมองกลที่รับหน้าที่ประมวลข้อมูลและตัดสินใจ โดยทั่วไปแล้ว ระบบไร้คนขับจะเป็นการทำงานร่วมกันของเทคโนโลยี 4 ได้แก่ Computer Vision, Deep Learning, Robotic, และ Navigation
ซึ่งนอกจากเทคโนโลยี Computer Vision ที่ทำหน้าที่เป็นเหมือนดวงตาของรถยนต์ไร้คนขับแล้ว AI แทบจะเข้าไปเกี่ยวข้องในทุกเทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็น Deep Learning(สมองกลของระบบ), Robotic(การออกคำสั่ง), Navigation (ระบบนำทาง)
แต่นอกจากระบบไร้คนขับแล้ว ทางฝั่งของค่ายรถเองก็พยายามที่จะเอาประโยชน์ของ AI มาช่วยในเรื่องของความปลอดภัยในการขับขี่ด้วย เช่น กล้องในรถ ตรวจดูสถานะคนขับ วัดระดับน้ำตาลของผู้ขับขี่ หรือแจ้งเตือนหากคนขับมีอาการเมื่อยล้าหรือผิดปกติ ยกตัวอย่างความล้ำหน้าของทั้งระบบรถยนต์ไร้คนขับ และกล้องภายในรถของ Volvo คือส่วนหนึ่งของความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งส่วนหนึ่งก็มาจากการศึกษาในสิ่งมีชีวิตด้วย…
นก หนู และปลา และการพัฒนาระบบไร้คนขับ เป็นเวลานานแล้วที่พวกสัตว์มีส่วนเกี่ยวข้องกับความรู้ทางวิทยาศาสตร์ อย่างที่เห็นได้ชัดก็ความก้าวหน้าทางการแพทย์ ที่ต้องใช้สัตว์ทดลองเป็นต้น ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่เหล่านักประสาทวิทยา จะพยายามศึกษาพฤติกรรมของสัตว์ เพื่อนำข้อมูลไปพัฒนาระบบสมองกลของคอมพิวเตอร์
Mackenzie Mathis นักประสาทวิทยาชื่อดัง ผู้อยู่เบื้องหลังการศึกษาพฤติกรรมของจากัวร์และเพื่อน ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว Bloomberg ว่า การศึกษาระบบประสาทของสัตว์เหล่านี้ มีส่วนช่วยในการพัฒนาระบบ AI ได้
Mathis บอกว่าการที่รู้ว่าพวกสัตว์มีวิธีการเรียนรู้อย่างไร มันทำให้เธอเข้าใจวิธีสอนการเรียนรู้ให้กับคอมพิวเตอร์ด้วย แต่การเรียนรู้ของคอมพิวเตอร์ก็เป็นเพียงการลอกเลียนแบบเท่านั้น เพราะการทำงานของสมองที่แท้จริงซับซ้อนเป็นอย่างมาก
ดังนั้นแล้วนักวิทยาศาสตร์จึงพยายามที่จะหาวิธีให้คอมพิวเตอร์สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง โดยอาศัยการศึกษาพฤติกรรมของสัตว์ต่างๆ
Mackenzie Mathis นักประสาทวิทยาชื่อดัง Robson และ Li นักวิทยาศาสตร์อีกคู่หนึ่งที่สนใจความสัมพันธ์ระหว่างการทำงานของสมองกับ AI พวกเขาซื้อรถ Tesla มาเมื่อปีที่แล้ว เพื่อทำการศึกษาระบบไร้คนขับของรถยนต์ไฟฟ้าเจ้าดัง พร้อมกันนั้นก็ได้ศึกษาการเคลื่อนที่ของปลาม้าลาย ที่หลบสิ่งกีดขวางในน้ำไปด้วย ซึ่งไม่แน่ว่าสิ่งที่พวกเขาศึกษาอาจเป็นประโยชน์สำหรับ Tesla ในการพัฒนาระบบไร้คนขับของพวกเขา ให้สามารถหลบหลีสิ่งกีดขวางได้ดีขึ้นกว่าเดิมก็เป็นได้
“ระบบไร้คนขับมีชุดคำสั่งมากมายจากข้อมูลขนาดใหญ่ หากคุณใช้การศึกษาทางชีววิทยามันจะเป็นเหมือนทางลัด และคุณสามารถแก้ปัญหานั้นได้โดยที่ไม่ต้องเอารถไปลองบนถนน” Robson ให้สัมภาษณ์
อย่างไรก็ตามหากมองในอีกมุมหนึ่ง ยิ่งระบบ AI มีการพัฒนามากขึ้นเท่าไหร่ ประโยชน์การใช้งานของมันก็ยิ่งมากขึ้นตามไปด้วย และสิ่งที่จะตามมาก็คือรถยนต์ไร้คนขับที่มีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น รวมถึงฟังก์ชั่นด้านความปลอดภัยในรถที่ทำให้ลดการสูญเสียให้น้อยที่สุดตามไปด้วย แต่อย่างที่ทราบกันดีว่าเหรียญมีสองด้าน และประเด็นเรื่องจริยธรรมก็ยังคงเป็นเรื่องที่ถกเถียงกันเป็นวงกว้าง เพราะเมื่อวันที่โลกเราถูกขับเคลื่อนด้วยระบบปัญญาประดิษบ์แบบเต็มตัวแล้ว อาจเป็นเรื่องยากที่จะควบคุม
ตัวอย่างเช่น คำถามที่ว่า?
“หากรถยนต์ที่เปิดระบบไร้คนขับ ชนคนเดินถนนจนเสียชีวิต ใครกันจะเป็นผู้รับผิดชอบ!?”
“ถ้าคนเดินถนนประมาท รถขับมาดีที่สุดแล้ว แต่เกิดการชนกัน รถจะผิดไหม!?”
นี่แค่ตัวอย่างของปัญหาต่างๆ ที่อาจจะตามมามากมาย และยังถกเถียงกันอย่างไม่จบสิ้น ซึ่งก็ต้องรอดูว่าในอนาคตจะมีมาตรฐานหรือกฎเกณฑ์อย่างไร