สถานีรถไฟนครลำปาง
สถานีรถไฟที่มีความชิคๆ เก่าๆ ด้วยตัวอาคารมีรูปแบบการก่อสร้างผสมผสานกันระหว่างสถาปัตยกรรมไทยภาคเหนือกับสถาปัตยกรรมยุโรป ข้างหน้ามีสถานีมีหัวรถจักรไอน้ำ มีอักษรย่อเขียนว่า ร.ฟ.ท. อยู่ที่ข้างหัวรถจักร ข้างหน้ามีน้ำพุเป็นช้างพ่นน้ำพุ ตัวสถานีห่างจากที่ว่าการอำเภอเมืองประมาณ 5 กิโลเมตร และอาคารสถานีได้ถูกบันทึกเป็นอาคารอนุรักษ์ ส่วนหน้าสถานีจะมีรถไฟจะมีจุดจอดรถม้าอยู่ด้วย
สถานีแห่งนี้เปิดรับขบวนรถไฟโดยสารครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 6 เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2459 ซึ่งตรงกับวันปีใหม่ไทยในยุคนั้น สมัยนั้นมีเจ้ากรมรถไฟเป็นวิศวกรชาวเยอรมัน ถ้าเอ่ยถึงความคลาสสิกของสถานีรถไฟที่ยังคงหลงเหลืออยู่ทั่วเมืองไทยแล้ว รับรองว่าสถานีรถไฟนครลำปาง ที่เป็นดั่งสัญลักษณ์ของเมืองลำปางแห่งนี้ต้องติดโผเข้าไปด้วย สถานีแห่งนี้เปิดรับขบวนรถไฟครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 6 เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2459 ซึ่งตรงกับวันปีใหม่ไทยสมัยนั้นโดยมีเจ้ากรมรถไฟเป็นวิศวกรชาวเยอรมัน และสถานีรถไฟนครลำปางแห่งนี้คือจุดสิ้นสุดของเส้นทางรถไฟสายเหนือนั่นเอง สถานีนี้ตั้งอยู่สุดถนนสุเรนทร์บริเวณสี่แยกบ้านสบตุ๋ยอันเป็นจุดเชื่อมต่อกับถนนสามสายแรกในภาคเหนือของประเทศไทย ต่อมาพื้นที่นาบริเวณชานเมืองได้เปลี่ยนแปลงกลายเป็นเมืองอย่างรวดเร็วเพื่อรองรับความเจริญที่เติบโตมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งได้มีการพัฒนาเส้นทางรถไฟด้วยการขุดเจาะอุโมงค์ขุนตานผ่านภูเขาและไปถึงนครเชียงใหม่ใน พ.ศ. 2464 ห้วงขณะนั้นเอง นครลำปางจึงเป็นศูนย์กลางการขนถ่ายสินค้าจากกรุงเทพฯ ไปยังภาคเหนือและลำเลียงสินค้าสำคัญจากภาคเหนือมายังกรุงเทพฯ ย่านการค้าสบตุ๋ยจึงมีความเจริญมาก ในปัจจุบันอาคารโบราณเหล่านี้ยังคงหลงเหลือให้เราได้ชื่นชม นับเป็นมรดกทางสถาปัตยกรรมที่คงรายละเอียดอันสวยงามไว้อย่างสมบูรณ์